28/9/52

จิตสาธารณะ



จิตสาธารณะ






1. บทนำ
จิตสาธารณะในสังคมไทยในปัจจุบัน มีความสำคัญเด่นชัดขึ้นมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 7 มีความมุ่งหมายและกระบวนการในการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องด้านต่างๆ ให้กับผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546: 5) หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตร คือ ให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและมุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่สังคม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545: 4) และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2552 (กระทรวงศึกษาธิการ, มปป) กำหนดจิตสาธารณะเป็นหนึ่งใน 8 คุณลักษณะ ที่สถานศึกษาจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การที่จิตสาธารณะมีความสำคัญ เนื่องจากว่า คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคมย่อมต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากัน หากคนในสังคมขาดจิตสาธารณะจะมีผลกระทบหลายๆ ส่วน ได้แก่ บุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน ประเทศ และระดับโลก (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร 2543: 22 – 29) ยกตัวอย่าง เช่น ผลกระทบที่ใกล้ตัวและเห็นชัดที่สุด คือ ผลกระทบในระดับบุคคล หากบุคคลใดไม่มีจิตสาธารณะ ย่อมความสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น ได้แก่ การทิ้งขยะมูลฝอยไม่ถูกที่ การไม่รักษาสิ่งของที่เป็นของสาธารณะ เป็นต้น
จากความสำคัญของการมีจิตสาธารณะ ถ้าสามารถปลูกฝังและส่งเสริมจิตสาธารณะ ปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วจะลดลง อย่างน้อยที่สุด การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์พวกพ้องก็จะลดน้อยลง และจะนำมาสู่สังคมที่พัฒนาขึ้น ฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาจิตสาธารณะอย่างจริงจัง สำหรับในบทความนี้ พยายามที่จะตอบปัญหาเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้
1. จิตสาธารณะคืออะไร?
2. แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะมีวิธีใดบ้าง?
3. การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตสาธารณะในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง?
4. ทิศทางการวิจัยจิตสาธารณะควรเป็นอย่างไร

2. ความหมายของจิตสาธารณะ
คำว่า “จิตสาธารณะ” แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า public mind จากการศึกษาค้นคว้าพบคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับจิตสาธารณะ ได้แก่ Public Consciousness, Public self- consciousness และ Public Mind โดยเฉพาะ Public mind ในต่างประเทศใช้ในความหมายที่เหมือนกับการแสดงความคิดเห็น คือ public opinion (
Bowman, Karlyn: 2001; Price, Jammie, 2000; Kvashis, V. E.& Vale, Michel,1999; Flanagan, Timothy J: 1996) ฉะนั้น จิตสาธารณะ ควรที่จะใช้คำว่า Public consciousness จึงจะตรงกับความหมายที่เกี่ยวกับการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งมีผู้ให้นิยามความหมายต่างๆ ไว้ ดังนี้



พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546) ไม่ได้ให้ความหมายของ จิตสาธารณะ ไว้โดยตรง ฉะนั้น คำว่า จิตสาธารณะจึงเป็นคำผสม 2 คำ คือ จิต + สาธารณะ จิต แปลว่า “ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก ดวง” และ สาธารณะ แปลว่า “เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ ทั่วไป” ฉะนั้น เมื่อรวมกัน จิตสาธารณะ แปลว่า คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่มองเห็นว่าคนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน

บรรทม มณีโชติ (2530: 25) กล่าวว่า จิตสาธารณะ คือ ความพร้อมที่จะเสียสละและอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

หฤทัย อาจปรุ (2544: 103-104) กล่าวว่า จิตสาธารณะ คือ ความปรารถนาที่จะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้อื่นหรือสังคม

ยุทธนา วรุณปิติกุล (2542: 181-183) กล่าวว่า จิตสาธารณะ คือ การแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

จากที่กล่าวมานี้ จิตสาธารณะ คือ คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่มีความพร้อม ความปรารถนาที่จะช่วยแก้ปัญหา การแสดงออกที่จะอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการใช้และการรักษาสิ่งของที่เป็นของส่วนรวม

3. แนวคิดสำหรับพัฒนาจิตสาธารณะ
จากการศึกษางานวิจัยย้อนหลังสิบปี การพัฒนาจิตสาธารณะมักจะใช้ทฤษฎีในกลุ่มพุทธิปัญญานิยม ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social cognitive learning theory) ของ Bandura ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social cognitive learning theory)
ทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมพบว่า การวางเงื่อนไขมีข้อจำกัดในการอธิบายการเรียนรู้ ฉะนั้น พวกเขาจึงให้ความสนใจกับกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่สามารถสังเกตได้ เช่น ความคาดหวัง ความคิด และความเชื่อ การขยายความคิดจากแนวคิดเดิมนี้ มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ Albert Bandura เขาเรียกทฤษฎีใหม่นี้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social cognitive theory) Bandura เชื่อว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มกลุ่มพฤติกรรมดั้งเดิมสามารถอธิบายการเรียนรู้ได้บางส่วน และมองข้ามสถานการณ์ที่สำคัญ โดยเฉพาะอิทธิพลทางสังคมที่มีต่อการเรียนรู้ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (environment event) ปัจจัยส่วนบุคคล (personal factors) เช่น ความคิด แรงจูงใจ และพฤติกรรม (behavior) ทั้งสามปัจจัยนี้มีปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (Woolfolk, 1993: 220) ดังภาพ



B = พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคล P = บุคคล E = สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมดั้งเดิมมองข้ามไปคือ ตัวแบบ (modeling) และ การลอกเลียนแบบ (imitation) มีผลต่อการเรียนรู้ กล่าวคือ คนเรียนรู้ได้จาการดูหรือสังเกตด้วยความตั้งใจ (attention) จากนั้นสร้างภาพ จำ วิเคราะห์ และการตัดสินใจ ปัจจัยทั้งสองนี้เรียนรู้ด้วยการสังเกต บันดูรา ได้อธิบายเพิ่มกระบวนการสังเกตมีทั้งหมด 4 อย่าง คือ กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention) กระบวนการจดจำ (Retention) กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction) และมีแรงจูงใจที่จะทำให้เกิดการทำพฤติกรรมนั้นอีก (Woolfolk, 1993: 220)


4. การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตสาธารณะ
จากการสำรวจงานวิจัยเกี่ยวกับจิตสาธารณะในประเทศไทยย้อนหลัง 10 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ।ศ। 2542 ถึง พ।ศ. 2552 พบงานวิจัย 7 เรื่อง ดังนี้


อัญชลี ยิ่งรักพันธุ์ (2550) ศึกษาผลการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริงเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ 3 องค์ประกอบ คือ ด้านการเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม ด้านการหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อสมบัติของส่วนรวม และ ด้านการถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวม โดยการศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชบพิธ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมใช้โปรแกรมการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมจิตสาธารณะ แบบบันทึกพฤติกรรมจิตสาธารณะ แฟ้มสะสมงาน และแบบทดสอบจิตสาธารณะ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้น ที่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง มีการเปลี่ยนแปลงของคะแนนจิตสาธารณะเฉลี่ยโดยรวม ก่อนทดลอง หลังทดลอง และหลังทดลอง 1 สัปดาห์ สูงขึ้น


สุคนธรส หุตะวัฒนะ। (2550) ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยเทคนิคเสนอ ตัวแบบผ่านภาพการตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจา ที่มีต่อจิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนพิชญ์ชนก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยจับฉลากเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และเป็นนักเรียนกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวนห้องละ 36 คน ในแต่ละห้องจะมีการแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มโดยการวัดการอบรมเลี้ยงดูแบ่งเป็นการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมาก และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยน้อย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 18 คน รวมทั้งสิ้น 72 คน การทดลองครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยเทคนิคเสนอตัวแบบผ่านภาพการ์ตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจา จำนวน 12 ภาพ สำหรับกลุ่มทดลอง และภาพการ์ตูนที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจิตสาธารณะจำนวน 12 ภาพสำหรับกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยเทคนิคเสนอตัวแบบผ่านภาพการ์ตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจามีจิตสาธารณะสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะ และ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยในระดับน้อยและในระดับมากไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยเทคนิคเสนอตัวแบบผ่านภาพการ์ตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจา


บุญทัน ภูบาล (2549) การใช้วีดิทัศน์ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านศรีแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) โดยใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามวัดจิตสาธารณะ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการใช้วีดิทัศน์ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบ มีการเปลี่ยนแปลงของคะแนนจิตสาธารณะเฉลี่ยโดยรวม ก่อนการใช้วีดิทัศน์ ระหว่างการใช้วีดิทัศน์และหลังการใช้วีดิทัศน์ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบในแต่ละช่วงสัปดาห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ।01 โดยคะแนนจิตสาธารณะเฉลี่ยโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดช่วงระยะเวลา 4 สัปดาห์


ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง (2547) ศึกษา ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยบทบาทสมมติกับตัวแบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 68 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 1 ห้องเรียน เป็นเพศชาย 17 คน และเพศหญิง 17 คน โดยใช้การทดลอง 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยบทบาทสมมติกับตัวแบบ จำนวน 12 เรื่อง และบทละครที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจิตสาธารณะจำนวน 12 เรื่อง กับกลุ่มควบคุม ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยบทบาทสมมติมีจิตสาธารณะสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม และเพศไม่มีความสัมพันธ์กับโปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะ


ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคณะ (2546 อ้างถึงใน บุญทัน ภูบาล) ศึกษารูปแบบการพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาให้มีจิตสาธารณะ : การศึกษาระยะยาว โดยในขั้นที่หนึ่งได้ศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใชัตัวแบบผ่านการเล่านิทานที่มีผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความคงทนของจิตสาธารณะในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับรูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้ตัวแบบผ่านการเล่านิทาน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นกึ่งทดลอง ผลการทดลองสรุปได้ว่า นักเรียนที่ใช้รูปแบบการพัฒนจิตสาธารณะโดยใช้ตัวแบบผ่านการเล่านิทานจะมีจิตสาธารณะมากกว่านักเรียนที่ไม่ใช้รูปแบบพัฒนาจิตสาธารณะ และนักเรียนที่ใช้รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใชัตัวแบบผ่านการเล่านิทานจะมีความคงทนของจิตสาธารณะมากกว่านักเรียนที่ไม่ใช้รูปแบบพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้ตัวแบบผ่านการเล่านิทาน


นันทวัฒน์ ชุนชี (2546) การใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย แล้วจับสลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 1 ห้องเรียน ในแต่ละห้องสุ่มนักเรียน แบ่งเป็น เพศชาย 15 คน เพศหญิง 15 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 24 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรมที่มีตัวแบบจิตสาธารณะจำนวน 12 เล่ม สำหรับกลุ่มทดลอง และหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรมที่ไม่มีตัวแบบจิตสาธารณะจำนวน 12 เล่ม สำหรับกลุ่มควบคุม แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบ 2 องค์ประกอบ (2 × 2 Factorial Design) เป็นแบบแผนที่มีการทดลองการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรม กับการไม่ใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรม และตัวแปรเพศสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง (Two – Way Analysis of Covariance) ผลการวิจัยพบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจิตสาธารณะด้วยตัวแบบสัญลักษณ์ แต่นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยจิตสาธารณะสูงกว่านักเรียนชาย และ นักเรียนที่ได้รับตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรมจะมีจิตสาธารณะสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรม
หทัย อาจปรุ (2544) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิตและความสามารถในการเรียนรู้ด้วนตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 ของสถาบันการศึกษาพยาบาล ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 510 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำ แบบสอบถามรูปแบบการดำเนินชีวิต แบบสอบถามความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบสอบถามการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษา
พยาบาล ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับความคิดเห็นและพฤติกรรมของนักศึกษาที่แสดงความต้องการช่วยเหลือสังคม ไม่เห็นแก่ตัวและลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้น ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มวิชาการ กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มก้าวหน้า กลุ่มกิจกรรม กลุ่มสังคม ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีจิตสาธารณะ นอกจากนี้ยังพบ ตัวแปรร่วมกันพยากรณ์จิตสาธารณะ ได้แก่ ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มก้าวหน้า รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มกิจกรรม และความสามารถในการเรียนรู้ด้วนตนเองได้ร้อยละ 45।6 (R2= 0.4)




จากงานวิจัยที่กล่าวมานี้ แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่ผู้เรียนสรุปได้ ดังนี้


1। วิธีการพัฒนาจิตสาธารณะที่มีผู้วิจัยมาแล้ว ใช้สถานการณ์จำลอง ตัวแบบผ่านการ์ตูน บทบาทสมมติ ตัวแบบผ่านการเล่านิทาน ตัวแบบผ่านหุ่นเชิด และตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ผ่านหนังสือเรียนเล่มเล็ก


2। ตัวแปรที่ควรให้ความสนใจและควรศึกษาให้ลึกซึ้งมากกว่านี้เกี่ยวกับการพัฒนาจิตสาธารณะ ได้แก่


2।1 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพัฒนาจิตสาธารณะ คือ ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต (กลุ่มวิชาการ กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มก้าวหน้า กลุ่มกิจกรรม กลุ่มสังคม) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผู้ที่สังกัดในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


2।2 ตัวแปรร่วมกันพยากรณ์จิตสาธารณะ ได้แก่ รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มก้าวหน้า รูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มกิจกรรม และความสามารถในการเรียนรู้ด้วนตนเอง


นอกจากนี้ เพศ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมากและน้อย ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาจิตสาธารณะ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรด้านเพศ เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเพศชาย ฉะนั้น ควรที่จะศึกษาเพิ่มเติมขึ้นไปอีก ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ปกครอง

แนวโน้มการวิจัยเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ
หากกล่าวถึงพฤติกรรมเป็นประเด็นที่แวดวงวิชาการให้ความสนใจมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดทั้งสองประการนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ในลำดับต่อมา (ทิศนา แขมมณี, 2550: 44) จิตสาธารณะจัดได้ว่าเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งขณะนี้สังคมให้ความสนใจ โดยเฉพาะแวดวงทางการศึกษา


สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาจิตสาธารณะอยู่ในขณะนี้ถือว่ายังน้อย ในจำนวนงานวิจัยเหล่านี้ ให้ความสำคัญกับการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social cognitive learning theory) ของ Bandura


ทฤษฎีที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาจิตสาธารณะอีกทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Cognitive behavior modification) ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้เน้นการพัฒนากระบวนการภายใน คือ จิตใจ แนวคิดนี้เกิดขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 1960 และเริ่มเด่นชัดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 1960 จนถึงต้อนศตวรรษที่ 1970 ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ สิ่งที่แตกจากแนวคิดเดิม คือ การปรับพฤติกรรมทางปัญญาจะเน้นที่การปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยตรง นักปรับพฤติกรรมมีความเชื่อว่า กิจกรรมทางปัญญามีผลต่อพฤติกรรม กิจกรรมทางปัญญาสามารถจัดให้มีขึ้นได้และเปลี่ยนแปลงได้ และ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจจะเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา (ยุพาพักตร์ รักมณีวงศ์, 2547) แนวคิดนี้สอดคล้องกับหลักศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ซึ่งมีคำสอนที่สามารถนำมาใช้สำหรับการพัฒนาจิตสาธารณะได้ เช่น มูลนิธีฉือจี้ใช้หลักพรหมวิหาร 4 เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินกิจกรรมจิตอาสา และมีเครือข่ายทั่วโลก นอกจากนี้โรงเรียนสัตยาไสใช้การสวดมนต์และนั่งสมาธิก่อนและหลังเรียนทุกครั้งเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ จนได้รับการเชิดชูว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบของการบูรณาการหลักศาสนากับการศึกษาได้อย่างลงตัว


บรรณานุกรม


กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
. (มปป.). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (เอกสาร)
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2547). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยบทบาทสมมติกับตัวแบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
นันทวัฒน์ ชุนชี. (2546). การใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อหนังสือเล่มเล็กเชิงวรรณกรรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
บรรทม มณีโชติ. (2530). การศึกษารูปแบบของข้อคำถามวัดลักษณะนิสัยด้านความเสียสละชนิดข้อความและชนิดสถานการณ์ที่ททมีผลต่อคุณภาพของแบบทดสอบ. ปริญญานิพนธ์ กศม.
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญทัน ภูบาล. (2549). การใช้วีดิทัศน์ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา).
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม; และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิบูรณะ
ชนบทแห่งประเทศไทยฯ.
ยุทธนา วรุณปิติกุล. (2542). สำนึกพลเมือง : ความเรียงว่าด้วยประชาชนบนเส้นทางประชาคม.
กรุงเทพฯ : มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาคม.
ยุพาพักตร์ รักมณีวงศ์. (2527). การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาโดยใช้การฝึกสมาธิแบบลมหายใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยอัมพาต. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคณะ. (2546). รูปแบบการพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาให้มี
จิตสาธารณะ : การศึกษาระยะยาว. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สถาบันวิจัย
พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุคนธรส หุตะวัฒนะ. (2550) ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยเทคนิคเสนอตัวแบบ
ผ่านภาพการตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจา ที่มีต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หฤทัย อาจปรุ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต
และความสมารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล
เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (การพยาบาลศึกษา).
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ยิ่งรักพันธุ์. (2550). ผลการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง
เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม (การวัดผลการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Adams, Florence S. (1937). Guidance of the Public Mind. Social Forces, Oct37, Vol. 16 Issue 1, p83-86, 4p; (AN 13576831)
Bowman, Karlyn. (2001). Knowing the Public Mind The Wilson Quarterly 25 no4 90-8 Aut 2001 (200128800114015)
Flanagan, Timothy J. 1996 Community corrections in the public mind. Federal Probation; v. 60 (Sept. 1996) p. 3-9 (BSSI97008238)
Price, Jammie. (2000). Taking Care of Men: Sexual Politics in the Public Mind by Anthony McMahon. (Cambridge, 1999). (Book review). Social Forces, Dec2000, Vol. 79 Issue 2, p801-802, 2p; (AN 3903343)
Woolfolk. (1993). Psychology of Learning. (Copy)

37 ความคิดเห็น:

  1. ขอขอบพระคุณมากนะคะสำหรับบทความนี้เป็นประโยชนืต่อการทำวิจัยมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. เป็นแนวทางที่ใช้ในการเรียนได้มากเลยคร๊ ขอบคุณคร๊

    ตอบลบ
  3. ผู้ทำวิจัย ชื่ออะไรคะ หน่วยงานไหน จะได้ใส่ในอ้างอิงค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  4. Quality content is the key to invite the users to go to see the site, that’s
    what this website is providing.

    Stop by my website: social

    ตอบลบ
  5. You made some good points there. I did a search on the topic and found most people will agree with your blog.


    Also visit my page; discountcape.com

    ตอบลบ
  6. This post is good and fruitful in support of all new Personal home pages related web programmers; they must study it and perform the practice.


    My web-site - social

    ตอบลบ
  7. Hmm it looks like your site ate my first comment (it was super long) so I guess I'll just sum it up what I had written and say, I'm thoroughly enjoying
    your blog. I too am an aspiring blog writer but I'm still new to the whole thing. Do you have any points for first-time blog writers? I'd genuinely appreciate it.



    My web page dealsprism.org

    ตอบลบ
  8. Hello, yup this article is truly good and I have learned lot of things
    from it on the topic of blogging. thanks.

    Here is my blog - skin-guide.org

    ตอบลบ
  9. In searching for sites related to web hosting and specifically comparison hosting
    linux plan web, your site came up.

    Also visit my web blog; thesweetdeals.org

    ตอบลบ
  10. thanks !! very helpful post!

    my web blog; social

    ตอบลบ
  11. Wow, this article is pleasant, my younger sister
    is analyzing these kinds of things, so I am going to tell her.



    Also visit my homepage :: let

    ตอบลบ
  12. This is my first time pay a visit at here and i am genuinely impressed to read everthing at alone
    place.

    my web page ... shall

    ตอบลบ
  13. I all the time used to study paragraph in news papers but
    now as I am a user of internet so from now I am using net for articles or reviews, thanks to web.



    my web page :: fixrelationships.org

    ตอบลบ
  14. In fact programming is nothing however it’s a logic, if you get control on it afterward you are the
    professional else nothing.

    My blog post: easy-webhosting.org

    ตอบลบ
  15. haha … the one who is posting the comments

    Look into my web-site ... top 5 registry cleaners

    ตอบลบ
  16. Highly energetic blog, I liked that a lot. Will there
    be a part 2?

    Review my site :: easy-webhosting.org

    ตอบลบ
  17. If some one desires to be updated with latest technologies therefore he must be pay a quick visit this web page and be up to date
    all the time.

    Also visit my web blog skincare-help.net

    ตอบลบ
  18. Highly energetic blog, I liked that a lot. Will there be a part 2?


    Here is my site :: refuse

    ตอบลบ
  19. There is obviously a lot to know about this. I think you made some good points in
    Features also.

    my homepage; deals-corner.com

    ตอบลบ
  20. My partner and I stumbled over here from a different page and thought I should check things out.
    I like what I see so i am just following you. Look forward to looking at your web page repeatedly.


    Feel free to visit my web-site - http://webhosting-guru.net/hostgator

    ตอบลบ
  21. Hi, this weekend is fastidious in favor of me, because this moment
    i am reading this fantastic educational article here at
    my house.

    Also visit my weblog http://discount-square.com/tirerack

    ตอบลบ
  22. I every time spent my half an hour to read this blog’s
    posts daily along with a mug of coffee.

    Also visit my web blog; http://hiphopmusicfactory.com/

    ตอบลบ
  23. Every weekend i used to pay a quick visit this web site, because i want enjoyment, for
    the reason that this this web page conations truly fastidious funny material
    too.

    my website :: thefitnesspost.com

    ตอบลบ
  24. I couldn’t resist commenting

    Also visit my homepage date-compare.com

    ตอบลบ
  25. haha … the one who is posting the comments

    My web site :: http://mobile-monitoring.net/mobilespy

    ตอบลบ
  26. Hi there, I read your blogs on a regular basis. Your humoristic style is witty,
    keep it up!

    My web-site: team building training

    ตอบลบ
  27. It is the happiest day of my life so far, when I am watching these funny movies here, because after whole day working I was
    so tired and now feeling sound.

    Here is my web blog :: appsmojo.blogspot.in

    ตอบลบ
  28. I believe what you said made a lot of sense.

    However, what about this? suppose you were to write a killer post title?
    I am not suggesting your content isn't good., but suppose you added a post title that makes people desire more? I mean "จิตสาธารณะ" is kinda vanilla. You ought to glance at Yahoo's home page and note how they write post headlines to grab people interested.
    You might try adding a video or a pic or two to get people excited
    about what you've written. In my opinion, it might bring your blog a little bit more interesting.

    Feel free to visit my page :: topregistrars.net

    ตอบลบ
  29. My boss is as well keen of YouTube comic movies, he also watch these even in workplace hehehe.
    .

    my homepage http://guidetoskincare.com

    ตอบลบ
  30. It’s remarkable to pay a visit this web site and reading the views
    of all colleagues regarding this piece of writing, while I am also keen of getting know-how.


    Feel free to surf to my web site: eyecareguide.net

    ตอบลบ
  31. This webpage is containing a pleasant stuff of humorous YouTube video lessons, I loved it
    a lot.

    Look at my webpage; fall

    ตอบลบ
  32. I loved as much as you will receive carried out right
    here. The sketch is tasteful, your authored subject matter
    stylish. nonetheless, you command get got an impatience over
    that you wish be delivering the following. unwell unquestionably come further formerly
    again since exactly the same nearly a lot often inside case you shield this hike.


    my homepage - http://tipsforbeautifulskin.net/get-rid-of-acne/

    ตอบลบ
  33. Nice answers in return of this query with real arguments and explaining all about that.


    Also visit my webpage ... yourhostingguide.org

    ตอบลบ
  34. Hello friends, nice post and nice urging commented at this place, I am in
    fact enjoying by these.

    Here is my webpage :: cotton

    ตอบลบ
  35. Can you please send by e-mail me the code for this script
    or please tell me in detail concerning this script?


    My web-site ... http://thefitnessmojo.com/nutrisystem/

    ตอบลบ
  36. There is obviously a lot to know about this.
    I think you made some good points in Features also.


    Also visit my weblog: http://thefitnesssquare.com

    ตอบลบ
  37. YouTube movies are famous in entire globe, as it is the biggest video sharing web site, and I become too happy by watching YouTube video tutorials.



    Also visit my web site: put ()

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

คลังบทความของบล็อก