การประเมินผู้เรียน
การประเมินนักเรียนในที่นี้จะเน้นการประเมินนักเรียนตามสภาพจริง ซึ่งเริ่มเรียกกันโดยทั่วไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 และ ในปี ค.ศ. 2000 การประเมินสภาพจิรงมีการใช้รูปแบบทดสอบมาตรฐาน และแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นด้วย รวมไปถึงการประเมินความรู้สึกนึกคิด แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก John Dewey ในส่วนของหลักสูตร นอกจากจะเมินความรู้แล้ว ยังต้อประเมินให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของผู้เรียนในชีวิตจริงด้วย ในเรื่องนี้ถึงกับมีคำว่าถึงหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน และยึดรายวิชาเป็นศูนย์กลางว่า “ประเทศชาติตกอยู่ในความเสี่ยง” (Nation at risk)
การประเมินหลักสูตรของ Eisner ในปี ค.ศ. 1999 มีอิทธิพลอย่างมากเกี่ยวกับการประเมินสภาพจริง ครูมีศิลปะในการที่จะเข้าใจผู้เรียน มีการสะท้อนความคิดจากห้องเรียน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเป็นการค้นหาความหมายซึ่งกันและกันและทันทีที่มีความหลากหลาย
การประเมินตามสภาพจริงเข้ากันได้ดีกับแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เช่น Brooks and Brooks (1993) เสนอแนวคิดกระบวนการควบคุมตนเองของการแก้ปัญหาระหว่างครูและนักเรียนด้วยการสร้างความขัดแย้งทางปัญญา ผ่านการอภิปรายและการสะท้อนผล Torrance and Pryon (2000) เน้นการค้นพบของผู้เรียนด้วยการปฏิบัติ
ดังนั้นการประเมินตามสภาพจริงก็คือ ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการและปฏิบัติด้วยการลงมือกระทำจริง ด้วยการสร้างชิ้นงาน เพื่อแสดงออกถึงการวิเคราะห์ บูรณาการความรู้ดเวยการประดิษฐ์ ฉะนั้น การประเมินสภาพจริงจึงมีวิธีการประเมินได้ 2 วิธี คือ การแสดงออกของผลงาน และ การจัดทำแฟ้มสะสมงานของนักเรียน
ในเรื่องของการประเมิน มีคำถามที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบการสร้างการประเมิน คือ
1. ความรู้ ทักษะหรือเจตคติอะไรที่นักเรียนแสดงออก
2. กิจกรรมมีส่วนช่วยในการสอนในหลักสูตรอย่างไร
3. เกณฑ์อะไรที่ใช้ประเมินนักเรียน
4. จะออกแบบงานเองหรือร่วมกับครูคนอื่น นักเรียนมีส่วนหรือไม่
5. ระยะเวลาเท่าไรในการประเมิน
6. มีงานเดี่ยวหรือกิจกรรมกลุ่มเพิ่มเข้ามาอีก
7. วัสดุ อุปกรณ์อะไรที่เพิ่มเข้ามา
8. ประเมินคนเดียวหรือให้ครูคนอื่นประเมินร่วมหรือให้นักเรียนประเมินช่วย
9. จะรู้อย่างไรว่าสิ่งที่เรียนมีการพัฒนา
ข้อดี
- มีวิธีการที่เด่นเชื่อมโยงสู่หลักสูตรและการประเมิน
- เป็นไปตามธรรมชาติและให้ข้อมูลที่เป็นจริงมากกว่ารูปแบบเดิม
- ให้เนื้อหาที่มีความหมายแก่นักเรียน
- ใช้เป็นแนวทางในการแสดงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
- ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือของความสำเร็จในตัวนักเรียนแก่ผู้ปกครองและชุมชน
- นักเรียนสะท้อนผลจากการเรียน
ข้อด้อย
- ใช้เวลาในการเตรียมมาก
- การตัดสินผลงานมีความลำบากหากมีหลักไม่ปรากฏชัดเพื่อให้เกิดความเที่ยง ความตรง
- การตัดสินตั้งอยู่บนฐานของความหลากหลายซึ่งให้เกณฑ์ลำบาก
แฟ้มพัฒนางาน
แฟ้มพัฒนางานเป็นหัวใจของการประเมินตามสภาพจริง เริ่มจากนักเรียนเป็นผู้สนใจเกิดความคิดในเรื่องนั้น มีความรับผิดชอบในสิ่งที่เรียน บูรณาการสิ่งต่างๆและริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เข้าหากันได้ดี
แนวคิดนี้เกิดมาจากศิลปะที่นักศิลปินนำเสนอผลงาน เมื่อประยุกต์ใช้กับการศึกษา จึงเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงผลงาน โดยไม่จำกัดเวลา ครูเป็นผู้ชี้แนะ นักเรียนเป็นผู้ตัดสินใจ คิดค้น สร้างโครงการ รวมทั้งการประเมินตนเองไปในตัว สะท้อนผลความก้าวหน้า เข้าใจการทำงาน ส่วนครูประเมินส่วนที่กว้างและลึก Case (1994) ให้รายละเอียดของแฟ้มสะสมงานดังนี้
- ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ที่นักเรียนเลือกที่จะทำและบรรยายเป็นคำพูดของตนเอง
- ตารางสารบัญ
- ตัวอย่างอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง ที่สัมพันธ์กับสิ่งที่ตนเองเขียน
- ตัวอย่างอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง ที่สัมพันธ์กับสิ่งที่ตนเองอ่าน
- อื่นๆที่ตัวเองได้เลือกไว้
ครูผู้สอนและนักเรียนตกลงกันไว้ในเรื่องการให้คะแนน ดังนี้
- นักเรียนทำการเปรียบเทียบตัวอย่างและอธิบายถึงสิ่งที่รวบรวมมาได้ดีเพียงใด
- สารบัญเป็นจริง (เพียงพอ? มากไป?)
- มีความเป็นระเบียบ และการจัดการดี
- ประหยัด (ควบคุมการใช้จ่าย)
- มีความชัดเจน และครบถ้วนในเนื้อหาความรู้
ข้อดี
- ช่วยให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- สนับสนุนให้นักเรียนสามารถประเมินตนเองได้
- ส่งเสริมครูผู้สอนให้เปิดโอกาสให้นักเรียนมากขึ้นและหัวข้อของการประเมิน
หลากหลายมากขึ้น
- เรียกร้องให้นักเรียนได้แสดงทักษะทางความคิด
- สามารถเป็นเครื่องมือ และบรรยายได้เร็วในสิ่งที่นักเรียนจะรู้และสามารถจะทำ
- ช่วยให้มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือของผลสัมฤทธิ์นักเรียนแสดงต่อผู้ปกครองและชุมชน
ข้อด้อย
- ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีเวลามากในการช่วยเหลือนักเรียนในการหัวข้อ/งานเพื่อที่จะ
สนับสนุน ช่วยเหลือ และประเมินแฟ้มสะสมงาน
- ระดับคะแนนของนักเรียนที่ได้รับในแฟ้มสะสมงานอาจจะอยู่ในระดับกว้างๆเท่านั้น
เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
- การยอมรับในระดับคะแนนของแฟ้มสะสมงานอยู่ในระดับต่ำ
- การนำเสนอและการเก็บค่อนข้างลำบากถ้ามีจำนวนแฟ้มสะสมงานจำนวนมาก
- แฟ้มสะสมงานอาจจะไม่แสดงถึงการทำงานของเด็กแต่ละบุคคลมากมายนัก ซึ่งใน
ความเป็นจริง อาจจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง ครู หรือ เพื่อนคนอื่นๆ
รูปแบบอื่น ๆ ของการประเมิน
1. แบบทดสอบรายจุดประสงค์ (Objective Tests) ได้แก่ แบบจับคู่ (Matching) แบบให้เลือกตอบว่าถูกหรือผิด (Alternative choice) แบบหลายตัวเลือก (Multiple choice) และ แบบเติมคำให้สมบูรณ์ (Completion)
ข้อดี
- ต้องการวัดหัวข้อที่เฉพาะเจาะจงภายในหลักสูตร
- ต้องการความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เมื่อมีโครงสร้างที่ดี มีความน่าเชื่อถือ
ข้อด้อย
- จะต้องคำนึงถึงทักษะและเวลาในการจัดทำโครงสร้าง
- ไม่สามารถวัดทักษะบางอย่างได้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
2. แบบทดสอบแบบความเรียง (Essay Tests) ข้อแนะนำ ดังต่อไปนี้
- เลือกคำถามที่ครอบคลุมหัวข้อใหญ่ภายในหลักสูตร
- ระมัดระวังในการกำหนดทักษะที่ต้องการให้ตอบสนองในแต่ละคำถาม
- ใช้คำถามที่ต้องการให้สรุปคำตอบและประกอบด้วยคำถามที่หลากหลายที่เน้นการปฏิบัติ
- ไม่ควรใช้คำถามที่เป็นทางเลือก
ข้อดี
- สามารถเตรียมได้ง่ายและรวดเร็ว
- มีวิธีการที่เหมาะสมเมื่อต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่สาธิต จัดระบบ หรือแสดงความคิด
ข้อด้อย
- ใช้เวลามากในการให้เกรด
- ไม่ใช่รูปแบบในการวัดความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง
3. รายการตามความสนใจ (Interest Inventories) ความรู้ตามความสนใจของผู้เรียนนั้นเป็นรายวิชาที่แตกต่างกันสามารถทำได้โดยการใช้แบบสอบถามความรู้ที่ผู้เรียนสนใจ เช่น Which things in science are the most exciting to learn about?
ข้อดี
- ช่วยให้ครูสร้างกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน
- ครูเก็บไว้เป็นแนวทางในการแลกเปลี่ยนหัวข้อที่น่าสนใจ
ข้อด้อย
- ผู้เรียนบางคนอาจจะพยายามที่จะทำให้ครูประทับใจโดยการพูดเกี่ยวกับหัวข้อที่พวกเขาไม่เข้าใจจริง ๆ หรือแม้กระทั่งในหัวข้อที่ไม่สนใจ
- ผู้เรียนบางคนไม่เต็มใจในการบอกสิ่งที่ตนเองสนใจ
4. การให้ระดับค่าคะแนน (Rating Scales)
ข้อดี
- ทำให้ครูสามารถตัดสินผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มได้
- สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
ข้อด้อย
- ครูไม่ได้รับข้อมูลใหม่ ๆ
- มีความยากในการรวบรวมและลำบากกว่าในการใช้วัดทักษะและความสามารถเฉพาะ
สวัสดีค่ะอาจารย์ ดวงพร กุลอุปฮาดค่ะ วันนี้เรียนกับอาจารย์ที่สารพัดช่างกาฬสินธุ์วันแรก สนุกแต่ยังเอ๋อค่ะ ขอส่งงานนะค่ะ อาจารย์ตรวจสอบแล้วช่วยแก้ไขข้อความที่ผิดพลาดและขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอขอบคุณค่ะ
ตอบลบMy name is Duangporn Kuluppahad.I'm married.My husband is Mr.Somsak.My son is Nong-Eng,he's 4 years old.I'm interested in English and computer.But I'm not excellent English.My favorite annimale is dog.I work about is internet cafa.My father is a famer and my mother is a wife house.I'm not interested in politics.I'm interested in cooking.My favourite teacher is Mr.Pinayo,he's good teacher.
สวัสดีค่ะอาจารย์ ดวงพร ก.ค่ะ วันนี้เป็นวันที่สองที่ได้เรียนกับอาจารย์ สนุกค่ะ รู้ว่าตัวเองไม่เก่งภาษาอังกฤษ แต่ก็จะพยายามตั้งใจเรียนค่ะ วันนี้ก็ขอส่งงานชิ้นที่ 2 ที่อาจารย์ให้เขียนชื่อจังหวัด 20 จังหวัด ที่ให้สะกดตามความเข้าใจของตัวเองค่ะ ก็อยากได้คะแนนเต็มถ้าเขียนถูกหมดนะค่ะ( ถ้าขี้โกงนิดๆ) แต่มันคงจะไม่ได้ความรู้เท่าที่เราพยายามลองทำดูเอง ส่งงานนะค่ะ
ตอบลบ1.ขอนแก่น Khon kaen
2.ร้อยเอ็ด Roi-Ed
3.อุดรธานี Udornthanee
4.นครพนม Nakornpanom
5.ยโสธร Yasothorn
6.มุกดาหาร Mukdahan
7.บุรีรัมย์ Bureerum
8.เชียงใหม่ Chaing Mai
9.ยะลา Yala
10.ปัตตานี Puttanee
11.สุรินทร์ Surin
12.นครนายก Nakornayok
13.ตาก Tak
14.แม่ฮ่อสอน Mahongson
15.พะเยา Payow
16.ลำปาง Lumpang
17.สกลนคร Sakhonakorn
18.เพชรบุรี Phetburee
19.ลำพูน Lum Poon
20.พิษณุโลก Phitsanuloak
รบกวนอาจารย์ตรวจทานด้วยค่ะ